ภูมิคุ้มกันมีวันหมด!
หมั่นเสริมภูมิคุ้มกันปกป้องร่างกาย

ใครควรฉีด

ใครควรได้รับวัคซีน1

กลุ่มที่ 1:
กลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง1

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่

  • บุคคลที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
  • บุคคลที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน
  • หญิงตั้งครรภ์
  • เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี

กลุ่มที่ 2:
กลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัส
และการแพร่เชื้อ1

  • พนักงานบริการหรือผู้ที่มีอาชีพต้องสัมผัสคนเป็นจํานวนมาก
  • ผู้อยู่ในสถานที่แออัด

กลุ่มที่ 3:
กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข1

เพื่อลดอาการป่วยหนัก/เสียชีวิต และรักษาระบบสาธารณสุขของประเทศ

กลุ่มที่ 4:
ประชาชนทั่วไป1

ที่ต้องการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสามารถเข้ารับวัคซีนประจําปีได้เช่นเดียวกัน1 เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีนกัน โควิด 19 ประสิทธิภาพจะค่อย ๆ ลดลงไป2

จุดรับบริการ
เสริมภูมิและรักษา

เพื่อภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพร้อมสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อการรักษาที่รวดเร็วทันท่วงที หากคุณต้องการทราบว่าจุดบริการสำหรับการเสริมภูมิคุ้มและการรักษามีอยู่ที่ไหนบ้าง

ค้นหาโรงพยาบาลใกล้ตัว

References:

  1. กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ประจำปี [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข. เมษายน 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1n3itp5swydVlXvrtWabGQnzUbFsH2mrh/view?usp=drive_link
  2. CDC Centers for Disease Control and Prevention. Stay Up to Date with COVID-19 Vaccines. [อินเทอร์เนต]. 15 กันยายน 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/stay-up-to-date.html#about-vaccines
 

วัคซีนโควิด 19 รุ่นปี 2025

อัปเดตภูมิคุ้มกันให้พร้อมรับมือสายพันธุ์ใหม่ๆ

อัปเดตภูมิคุ้มกันให้พร้อมรับมือสายพันธุ์ใหม่ๆ

รู้จักวัคซีนโควิด 19 รุ่นปี 2025

วัคซีนโควิด 19 รุ่นปี 2025 เป็นวัคซีนที่ถูกพัฒนาให้มีส่วนประกอบที่เหมาะสมกับการรับมือกับสายพันธุ์ของโควิด 19 ที่กำลังระบาดอยู่ ตามคำแนะนำของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกโดยเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันโควิด 19 ในปี 20251,2

ทำไมต้องอัปเดตภูมิคุ้มกัน?

  • วัคซีนรุ่นปี 2025 ถูกพัฒนาให้พร้อมรับมือกับสายพันธุ์ปัจจุบันมากขึ้น2
  • ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่เคยได้รับหรือจากการติดเชื้อลดลงเมื่อเวลาผ่านไป2
  • กลุ่มเสี่ยงยังคงเสี่ยงต่ออาการรุนแรงและการเสียชีวิตอยู่3
  • ช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยเรื้อรังหลังโควิด 19 (Long COVID)2
  • หน่วยงานสาธารณสุขทั้งในไทยและต่างประเทศแนะนำให้รับวัคซีนโควิด 19 เป็นประจำทุกปี2-4

ความมั่นใจต่อวัคซีนโควิด 19
ชนิด mRNA

  • วัคซีนโควิด 19 มีอาการข้างเคียงที่อาจพบได้บ่อยไม่แตกต่างจากวัคซีนอื่น ๆ ได้แก่ ปวดหรือบวมบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น มีไข้5
  • อาการข้างเคียงรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบนั้นมีโอกาสพบได้น้อยมาก และสามารถหายได้5-6
  • วัคซีนโควิด 19 มีการฉีดให้ประชากรจำนวนมากทั่วโลก7และมีการรับรองให้ใช้ได้อย่างมั่นใจในทุกกลุ่มอายุจากทั้งจากองค์กรในประเทศไทยและองค์กรระหว่างประเทศ8-9

References:

  1. WHO. Statement on the antigen composition of COVID-19 vaccines [Internet]. 2024 [cited 2024 Dec 24]. Available from:      
    https://www.who.int/news/item/23-12-2024-statement-on-the-antigen-composition-of-covid-19-vaccines
  2. CDC. Staying Up to Date with COVID-19 Vaccines [Internet]. COVID-19. 2024 [cited 2024 Dec 26]. Available from: https://www.cdc.gov/covid/vaccines/stay-up-to-date.html
  3. WHO SAGE. WHO roadmap on uses of COVID-19 vaccines in the context of Omicron and high population immunity [Internet]. 2024 [cited 2024 Dec 26]. Available from:      
    https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoV-Vaccines-SAGE-Prioritization-2023.2
  4. Department of Disease Control. Annual COVID-19 Vaccination Guideline [Internet]. 2023 [cited 2024 Dec 26]. Available from:      
    https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1417120230426124113.pdf
  5. CDC. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Vaccine Safety [Internet]. 2024 [cited 2024 Dec 26]. Available from: https://www.cdc.gov/vaccine-safety/vaccines/covid-19.html
  6. CDC. Clinical Considerations: Myocarditis after COVID-19 Vaccines [Internet]. 2024 [cited 2024 Dec 26]. Available from:      
    https://www.cdc.gov/vaccines/covid-19/clinical-considerations/myocarditis.html#print
  7. Our World in Data. Coronavirus (COVID-19) Vaccinations - Statistics and Research [Internet]. 2021 [cited 2024 Dec 26]. Available from: https://ourworldindata.org/covid-vaccinations
  8. Pfizer. Working To Make COVID-19 Vaccines Accessible to Everyone, Everywhere [Internet]. 2022 [cited 2024 Dec 26]. Available from:      
    https://www.pfizer.com/science/coronavirus/vaccine/working-to-reach-everyone-everywhere
  9. ICMRA. ICMRA statement on the safety of COVID-19 vaccines [Internet]. 2024 [cited 2024 Dec 26]. Available from: https://www.icmra.info/drupal/en/strategicinitiatives/vaccines/safety_statement

ความรู้สู้โควิด 19

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากแม่สู่ลูกน้อย

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากแม่สู่ลูกน้อย

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในหญิงตั้งครรภ์

Rsik Checklist

เช็กหน่อย! ว่าคุณเสี่ยงจากโควิด 19 แค่ไหน?

ความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจากโควิด 19 หรือต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากโควิด 19 เพิ่มขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ต่อไปนี้
 

ฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปี ปกป้องตัวคุณและคนที่คุณรักจากโรคร้าย

ฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจำปี ปกป้องตัวคุณและคนที่คุณรักจากโรคร้าย

แม้ว่าประเทศไทยจผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตของการระบาดของโควิด 19 ไปแล้ว แต่การระบาดของโควิด 19 ยังไม่สิ้นสุดลง

เจาะลึกวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA

เจาะลึกวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA

กลไกทำงาน ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA

Q&A วัคซีน

ถาม – ตอบ เกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด 19

1. วัคซีนโควิด 19 ต้องฉีดทุกปีจริงหรือไม่ มีแนวทางการฉีดอย่างไร 
 

แนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ปีละ1เข็ม โดยไม่คำนึงว่าเป็นเข็มที่เท่าใด1
เนื่องจาก ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และการป้องกันจากวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ก็จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป2 การได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ที่อัปเดตจะช่วยฟื้นฟูการป้องกันและเพิ่มการป้องกันต่อการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโควิด 192 อีกทั้งการฉีดวัคซีนยังช่วยลดโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจาก Long COVID ได้อีกด้วย3

References:
1) แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ประจำปี. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1417120230426124113.pdf
2) Benefits of Getting A COVID-19 Vaccine, Centers for Disease Control and Prevention: CDC, Sept. 22,2023 available at https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/vaccine-benefits.html
3) Long COVID or Post-COVID Conditions Centers for Disease Control and Prevention: CDC, July 20,2023 available at https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/long-term-effects/index.html
 

2. ถ้าเป็นโควิด 19 แล้ว จะสามารถรับวัคซีนโควิด 19 ประจำปีได้อีกเมื่อไหร่
 

แนะนำให้เว้นระยะห่างจากการติดเชื้อครั้งสุดท้ายตั้งแต่ 3เดือนขึ้นไป1

Reference:
1) แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ประจำปี. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1417120230426124113.pdf
 

3. วัคซีนโควิด 19 ปัจจุบันเป็นรุ่นอะไร และสามารถป้องกันอะไรได้บ้าง
 

วัคซีนโควิด 19 รุ่นล่าสุดคือ รุ่นปี 2025 ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนาส่วนประกอบตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขระดับโลก ได้แก่ องค์การอนามัยโลก องค์การยาแห่งสหภาพยุโรปและศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ใช้สำหรับป้องกันโควิด 19 ในปี พ.ศ.2568 โดยมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธ์ุกลุ่ม JN.11-3 ซึ่งเป็นกลุ่มสายพันธุ์หลักที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน4 การเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนโควิด 19 ประจำปีจะช่วยลดโอกาสติดเชื้อ ลดโอกาสป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล และลดโอกาสเสียชีวิตจากโควิด 191-2

References:
1) WHO. Statement on the antigen composition of COVID-19 vaccines [Internet]. 2024 [cited 2024 Dec 24]. Available from: https://www.who.int/news/item/23-12-2024-statement-on-the-antigen-composition-of-covid-19-vaccines
2) CDC. Staying Up to Date with COVID-19 Vaccines [Internet]. COVID-19. 2024 [cited 2024 Dec 26]. Available from: https://www.cdc.gov/covid/vaccines/stay-up-to-date.html
3) EMA. EMA confirms its recommendation to update the antigenic composition of authorised COVID-19 vaccines for 2024- 2025 [Internet]. 2024 [cited 2025 Jan 7]. Available from:
https://www.ema.europa.eu/en/documents/other/ema-confirms-its-recommendation-update-antigenic-composition-authorised-covid-19-vaccines-2024-2025_en.pdf
4) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยสถานการณ์โควิดในไทยพบสายพันธ์ุ JN.1* ยังคงเป็นสายพันธุ์หลัก และเป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกเฝ้าระวังร่วมกับสายพันธ์ุ BA.2.86* [Internet]. 2024 [cited 2025 Jan 7]. Available from: https://www.dmsc.moph.go.th/th/detailAll/2853/nw/25
 

4. ใครควรได้รับวัคซีนโควิด 19 ประจำปี
 

บุคคลกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มคน 6081 ได้แก่ บุคคลที่อายุ 60 ปีขึ้นไป หรือ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือ หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับการวัคซีนโควิด 19 ประจำปี เพื่อลดความรุนแรงของอาการโควิด 19 และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้2

References:
1) แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ประจำปี. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1417120230426124113.pdf 
2) Benefits of Getting A COVID-19 Vaccine,Centers for Disease Control and Prevention: CDC, Sept. 22, 2023 available at https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/vaccine-benefits.html
 

5. วัคซีน mRNA มีความปลอดภัยหรือไม่ 
 

วัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA ผ่านการรับรองยืนยันความปลอดภัยจากองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศต่าง ๆ และองค์กรระหว่างประเทศ
จนถึงปัจจุบันวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA ผ่านการตรวจสอบข้อมูลอย่างเข้มงวดในการขึ้นทะเบียน ได้รับอนุมัติให้ใช้ใน 181 ประเทศ และมีการฉีดให้กับประชากรทั่วโลกไปแล้วกว่าหลายร้อยล้านโดส1,2,3 มีระบบการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์อย่างรัดกุม และรับรองความปลอดภัยทั้งจากองค์กรในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีคำแนะนำให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ตามคำแนะนำของแต่ละประเทศ
Centers for Disease Control and Prevention ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า วัคซีนป้องกันโควิด 19 มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ผู้ได้รับวัคซีนหลายร้อยล้านโดสในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยของวัคซีนอย่างเข้มงวด และแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA สำหรับทุกคนที่อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป4,5
แถลงการณ์ร่วมของ European Medicines Agency (EMA) สหภาพยุโรป และ International Coalition of Medicines Regulatory Authorities (ICMRA) ที่มีสมาชิก 24 ประเทศทั่วโลก ยืนยันถึงความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทั้งนี้ จากการฉีดวัคซีนทั่วโลกไปแล้วกว่า 13,000 ล้านโดส พบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยในทุกช่วงอายุ อาการข้างเคียงส่วนใหญ่ที่พบไม่รุนแรง และพบอาการข้างเคียงที่รุนแรงในอัตราที่ต่ำมาก โดย EMA และ ICMRA ยังคงสนับสนุนทั้งในเรื่องความปลอดภัยและประโยชน์ของวัคซีนในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงจากโควิด 196,7
องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า วัคซีนป้องกันโควิด 19 ผ่านการขึ้นทะเบียนด้วยเกณฑ์ที่เข้มงวดและได้มาตราฐานทั้งในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพ โดยมีระบบการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนที่เข้มงวดรัดกุมและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ยืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิด 19 มีความปลอดภัย และ WHO’s Strategic Advisory Group on Immunization (SAGE) ยังคงให้รับวัคซีนตามคำแนะนำที่ระบุไว้8

References:
1) Working To Make COVID-19 Vaccines Accessible to Everyone, Everywhere. https://www.pfizer.com/science/coronavirus/vaccine/working-to-reach-everyone-everywhere 
2) COVID-19 vaccine tracker. https://www.bloomberg.com/graphics/covid-vaccine-tracker-global-distribution/
3) COVID-19 Vaccinations. https://ourworldindata.org/covid-vaccinations 
4) Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/safety/safety-of-vaccines.html 
5) Centers for Disease Control and Prevention. Stay Up to Date with COVID-19 Vaccines. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/stay-up-to-date.html 
6) International Coalition of Medicines Regulatory Authorities. ICMRA statement on the safety of COVID-19 vaccines. 05 July 2023. https://icmra.info/drupal/strategicinitiatives/vaccines/safety_statement
7) European Medicines Agency. Global regulators confirm good safety profile of COVID-19 vaccines. 05 July 2023. https://www.ema.europa.eu/en/news/global-regulators-confirm-good-safety-profile-covid-19-vaccines 
8) World Health Organization. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/covid-19-vaccines/advice
 

6. วัคซีน mRNA สามารถเปลี่ยนแปลง DNA ได้จริงหรือไม่ 
 

ไม่จริง กลไกการออกฤทธิ์ของวัคซีน mRNA จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนามของไวรัส โดยไม่เข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย จึงไม่มีผลต่อดีเอ็นเอและยีน1,2,3 วัคซีน mRNA จึงไม่จัดว่าเป็นการบำบัดด้วยยีน (gene therapy)4 นอกจากนี้ mRNA และโปรตีนหนามที่สร้างขึ้นจะถูกขับออกจากร่างกายอย่างรวดเร็วจึงไม่เหลือตกค้างอยู่ตามอวัยวะต่างๆ

References:
1) Centers for Disease Control and Prevention. How mRNA COVID-19 Vaccines Work. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/downloads/vaccines/COVID-19-mRNA-infographic_G_508.pdf 
2) Centers for Disease Control and Prevention. Understanding How COVID-19 Vaccines Work. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/how-they-work.html 
3) U.S. Food & Drug Administration. What is Gene Therapy? https://www.fda.gov/vaccines-blood-biologics/cellular-gene-therapy-products/what-gene-therapy 
4) European Medicines Agency. COVID-19 vaccines: key facts. https://www.ema.europa.eu/en/human-regulatory-overview/public-health-threats/coronavirus-disease-covid-19/covid-19-medicines/covid-19-vaccines-key-facts#mrna-covid-19-vaccines-7221 
 

7. วัคซีน mRNA เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันจริงหรือไม่
 

จากการศึกษา population-base cohort study ในประชากรกว่า 46 ล้านคน ในประเทศอังกฤษ ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ระหว่างปี2020-2021 พบว่าวัคซีน mRNA ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันชนิดต่างๆ ได้แก่ ischemic stroke, hemorrhagic stroke, Deep vein thrombosis, myocardial infarction, pulmonary embolism ฯลฯ ในทุกช่วงอายุที่ปรากฎในการศึกษา1

Reference:
1) Whiteley, et al. Association of COVID-19 vaccines ChAdOx1 and BNT162b2 with major venous, arterial, or thrombocytopenic events: A population-based cohort study of 46 million adults in England. PLoS Med. 2022;19(2):e1003926. https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1003926
 

8. วัคซีน mRNA มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง จริงหรือไม่
 

ไม่จริง องค์กรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA และโรคมะเร็งดังนี้ European Medicines Agency (EMA) สหภาพยุโรป ยืนยันความปลอดภัยของวัคซีนชนิด mRNA ว่าวัคซีนไม่มีผลกับดีเอ็นเอ และจากการเฝ้าระวังภายหลังฉีดวัคซีนในกลุ่มประชากรพบว่า วัคซีนไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์หรือทำให้เกิดมะเร็ง1 และ National Cancer Institute ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทำให้เกิดมะเร็ง และไม่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีอาการกำเริบหรือแย่ลง โดยแนะนำให้ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ใกล้ชิดรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ตามคำแนะนำของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC)2

Reference:
1) European Medicines Agency. COVID-19 vaccines: key facts. https://www.ema.europa.eu/en/human-regulatory-overview/public-health-threats/coronavirus-disease-covid-19/covid-19-medicines/covid-19-vaccines-key-facts#mrna-covid-19-vaccines-7221 
2) National Cancer Institute. COVID-19 Vaccines and People with Cancer. https://www.cancer.gov/about-cancer/coronavirus/covid-19-vaccines-people-with-cancer 
 

9. เตรียมตัวอย่างไรในการรับวัคซีนโควิด 19
 

1) สองวันก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ให้ งด ออกกำลังกายหนัก หรือยกของหนัก และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
2) วันที่ฉีดควรดื่มน้ำอย่างน้อย 500 - 1,000 ซีซี งด ชา กาแฟ หรือ ของที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
3) เลือกฉีดแขนข้างที่ไม่ถนัด และหลังฉีดสองวันหลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างที่ฉีด พยายามอย่าเกร็ง หรือยกของหนัก
4) หลังฉีดแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีด 30 นาที
5) หากมีไข้ หรือปวดเมื่อยมากจนทนไม่ไหว สามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัมได้ครั้งละหนึ่งเม็ด ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นสามารถกินซ้ำได้โดยให้ห่างจากเม็ดก่อนหน้า 6 ชั่วโมง ทั้งนี้ ห้ามกินยาต้านการอักเสบที่มิใช่กลุ่มสเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Ibuprofen, celecoxib หรือ etoricoxib โดยเด็ดขาด
6) หากรับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่สามารถกินยาได้ตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดตรงตำแหน่งที่ฉีดนิ่ง ๆ ต่ออีก 1 นาที

Reference:
1) สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. เตรียมตัวพร้อมก่อนฉีดวัคซีนให้ปลอดภัย [อินเทอร์เนต]. 5 มิถุนายน 2564. [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/159299/
 

10. ข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนโควิด 19
 

แนะนำให้เว้นระยะห่างจากการติดเชื้อครั้งสุดท้ายตั้งแต่ 3เดือนขึ้นไป1
หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาที่กำลังรับประทาน โปรดปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือผู้ให้บริการฉีดวัคซีน1
จากการศึกษาวิจัยวัคซีนโควิด 19 แต่ละชนิด มักพบเป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา ถึงแม้ว่าวัคซีนเหล่านี้จะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ว่ามีความปลอดภัยและให้ใช้ได้แล้วก็ตาม แต่การฉีดวัคซีนเหล่านี้ก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ในอัตราที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสังเกตอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาทีในสถานพยาบาลหรือสถานที่ฉีดวัคซีนเสมอ และเนื่องจากวัคซีนโควิด 19 เป็นวัคซีนใหม่และยังไม่มีข้อมูลการติดตามผลในระยะยาว หากผู้รับวัคซีนเกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือไม่มั่นใจว่าอาการดังกล่าวเกิดจากวัคซีนหรือไม่ แนะนำให้ผู้รับวัคซีนควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงและเกิดขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน2

Reference
1) CDC. Getting Your COVID-19 Vaccine [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/expect.html
2) กรมควบคุมโรค. วัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย คำถามที่พบบ่อย [อินเทอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages/คำถามที่พบบ่อย

11. ถ้าต้องการรับวัคซีนโควิด 19 ชนิดล่าสุด สามารถรับบริการได้ที่ไหนบ้าง

สามารถค้นหาจุดรับวัคซีนใกล้ตัวได้ ที่นี่

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูบทความทั้งหมด

เสริมภูมิคุ้มกัน

เพราะเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงอยู่ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) จึงยังคงเป็นเรื่องสำคัญ

PP-CVV-THA-0554, PP-CVV-THA-0672