เตรียมรับมือเชื้อไวรัส
และสู้กลับได้ทันที!

ยิ่งคุณมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ร่างกายต่อสู้กับโควิด 19 ได้ยากขึ้นเท่านั้น

อาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโควิด 19 รุนแรงมากกว่าคนที่แข็งแรงดี1

ถ้าคุณรู้ไวว่าติดเชื้อและรู้ไวว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโควิด 19 รุนแรง

คุณจะได้รีบมองหาการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ทันทีที่คุณมีอาการ2

รู้ไว
ยิ่งรู้ไวว่าติดเชื้อและรู้ไวว่าตนเองเสี่ยงต่อการเป็น
โควิด 19 รุนแรง จะได้รีบมองหาการรักษา
ที่เหมาะสมจากแพทย์2
ไปพบแพทย์
ไปพบแพทย์ทันทีที่คุณมีอาการคล้ายโควิด 19 หรือ
มีผลทดสอบเป็นบวก เพราะคุณอาจจำเป็นต้อง
ได้รับยารักษาโควิด 192

References:

  1. People with certain medical conditions. Centers for Disease Control and Prevention. Updated May 11, 2023. Accessed March 25, 2025. https://archive.cdc.gov/www_cdc_gov/coronavirus/2019-ncov/need-extra-precautions/people-with-medical-conditions.html
  2. Types of COVID-19 treatment. Centers for Disease Control and Prevention. Updated July 12, 2024. Accessed March 25, 2025. https://www.cdc.gov/covid/treatment/index.html

รู้ไว ว่ามีกลุ่มยาต้านไวรัส
สำหรับรักษาโควิด 19

ทุกวันนี้มีกลุ่มยาต้านไวรัส สำหรับรักษาโควิด 19 ที่ช่วยหยุดการแบ่งตัวของไวรัสและป้องกันไม่ให้กลายเป็นโควิด 19 ที่รุนแรงในผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีปัจจัยเสี่ยง1

โดยยาต้านไวรัสสำหรับรักษาโควิด 19 ที่มีอยู่ในประเทศไทย เรียงตามลำดับประสิทธิภาพมีดังนี้2

Nirmatrelvir/Ritonavir
  • รูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน มี
    ประสิทธิภาพสูงเป็นลำดับแรกในการ
    ลดการนอนโรงพยาบาลหรือการ
    เสียชีวิตจากโควิด 19
  • มีประสิทธิภาพถึงร้อยละ 89
    หาก เริ่มยาภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ
  • มีอันตรกิริยากับยาอื่นหลายชนิด ควร
    แจ้งแพทย์/เภสัชกรเกี่ยวกับยาที่กำลัง ใช้อยู่เพื่อตรวจสอบก่อน เริ่มใช้ยา
  • อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย ได้แก่
    ถ่ายเหลว การรับรสผิดปกติ3
Remdesivir
  • รูปแบบยาฉีดสำหรับบริหารทางหลอด
    เลือดดำ
  • มีประสิทธิภาพในการลดการดำเนินของ โรคได้ร้อยละ 87 หาก เริ่มยาภายใน
    7 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ
  • อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้
    เช่น ท้องผูก โพแทสเซียมในเลือดต่ำ
    ภาวะโลหิตจาง ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
    ค่าเอนไซม์ตับสูงขึ้น
Molnupiravir
  • รูปแบบยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
    มีประสิทธิภาพในการลดการนอน โรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตจาก
    โควิด 19
  • มีประสิทธิภาพลดการนอน โรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ร้อยละ 30 หากเริ่มยาภายใน 5 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ
  • มีข้อห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร

References:

  1. Types of COVID-19 treatment. Centers for Disease Control and Prevention. Updated July 12, 2024. Accessed March 25, 2025. https://www.cdc.gov/covid/treatment/index.html
  2. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2567.
    สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ.2568. เข้าถึงได้ที่ https://idthai.org/Contents/Views/?d=!8!11!!1021
  3. nirmatrelvir and ritonavir prescribing information. Accessed March 25, 2025. https://labeling.pfizer.com/ShowLabeling.aspx?id=19599
arrowarrow-mb

รู้ไว ว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงจากโควิด 19 หรือไม่?

เพราะปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงจากโควิด 19 แต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องรู้เท่าทันและเข้าใจสุขภาพตนเอง เพื่อเตรียมตัวรับมือ กับโควิด 19 ได้ทันที!

โควิด 19 อาจไม่รุนแรงในคนที่แข็งแรงดี

แต่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้อาจรุนแรงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือเสียชีวิต1

อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
1. อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป

ผู้ป่วยสูงอายุมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส
ได้ง่ายและเสี่ยงต่ออาการรุนแรงถึงขั้น
เสียชีวิตได้ ยิ่งสูงอายุมากขึ้น หรือมีโรค
ประจำตัวมากขึ้น ยิ่งมีความเสี่ยงเสีย
ชีวิต
จากโควิด 19 สูงขึ้น2

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)

ผู้ป่วยโรค COPD และโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ มีเซลล์บริเวณทางเดินหายใจที่อ่อนแอกว่าคนทั่วไป ทำให้ติดเชื้อไวรัสได้ง่าย และอาจกระตุ้นอาการของโรคให้กำเริบได้ ทำให้เสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อนและอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้น3

โรคไตเรื้อรัง (CKD)
ระยะที่ 3 ขึ้นไป
3. โรคไตเรื้อรัง (CKD) (ขั้นที่ 3 ขึ้นไป)

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นต้นไป เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการจากโควิด 19 ที่รุนแรง1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตเนื่องจากจะมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง และหากเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ยิ่งทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น4

โรคหัวใจและหลอดเลือด
4. โรคหัวใจและหลอดเลือด

โควิด 19 จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่หัวใจโดยจะไปทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจและหลอดเลือด และอาจเพิ่มการเกิดลิ่มเลือดได้ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน5 และยังมีรายงานพบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) ในผู้ป่วยโควิด 19 อีกด้วย6

โรคหลอดเลือดสมอง
5. โรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้นหากติดเชื้อไวรัส7 โดยโควิด 19 จะทำให้เกิดการอักเสบภายในหลอดเลือดและส่งผลให้เซลล์เกิดความเสียหาย ทำให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมองได้8

โรคมะเร็ง
(ไม่รวมมะเร็งที่รักษาหายแล้ว)
6. โรคมะเร็ง (ไม่รวมมะเร็งที่รักษาหายแล้ว)

ผู้ป่วยมะเร็งมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่อ่อนแอลง ทั้งจากโรคมะเร็งหรือจากยาที่ใช้รักษา และมักจะมีปัจจัยอื่นที่เพิ่มความเสี่ยงร่วมด้วย เช่น อายุ การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก หรือภาวะน้ำหนักเกิน9

เบาหวาน
7. เบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อติดเชื้อแล้วจะทำให้เกิดภาวะการอักเสบภายในร่างกายซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนและควบคุมได้ยาก ซึ่งส่งผลให้มีโอกาสที่จะเกิดอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้10

ภาวะอ้วน
8. ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก.) หรือ BMI ≥ 30 กก./ตร.ม.

ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน คือผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กก./ตร.ม. ขึ้นไป1 จะมีไขมันบริเวณหน้าท้องดันขึ้นไปเบียดบริเวณกะบังลมและลดการไหลเวียนอากาศเข้าไปสู่ปอด ทำให้หายใจลำบากได้ รวมถึงมักมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงทำให้อาการของโควิด 19 แย่ลง11

ตับแข็ง
(Child-Pugh class B ขึ้นไป)
9. ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)

ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เป็นโควิด 19 จะมีความเสี่ยงในการที่จะเกิดโรคที่รุนแรงเพิ่มขึ้นถึง 2.44 เท่า12 อีกทั้งยังมีอัตราการนอนโรงพยาบาลและเสียชีวิตที่สูงกว่าคนที่ไม่ได้มีภาวะโรคนี้13

ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
10. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ คือกลุ่มคนที่อยู่ในระหว่างการได้รับยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิ หรือ corticosteroid1 จะมีโอกาสป่วยจากโควิด 19 ที่รุนแรงและนานกว่าคนปกติทั่วไป อีกทั้งคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 อยู่ ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนตามปกติ15

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ป่วยเอชไอวีโดยเฉพาะผู้ที่มีจำนวน CD4 น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. นับเป็นผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากเป็นกลุ่มคนที่เป็นโรคเอดส์ชนิด advance (รวมถึงผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเอดส์) หรือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีแต่ไม่ได้รับการรักษา ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโควิด 19 ที่รุนแรงมากขึ้น14

References:

  1. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2567.
    สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ.2568. เข้าถึงได้ที่ https://idthai.org/Contents/Views/?d=!8!11!!1021
  2. Factor That Affect Your Risk of Getting Very Sick from COVID-19 Available at: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/your-health/risks-getting-very-sick.html Last Accessed: 21 November 2023
  3. Awatade, N.T., B. Wark, P.A., Chan, A.S., Mamun, SM. A., Esa, N.Y., . . . Sohal, S.S. (2023) The Complex Association between COPD and COVID-19. Journal of Clinical Medicine, 12(11): 3791.
  4. Kidney disease & COVID-19. (n.d.). National Kidney Foundation. Available at: https://www.kidney.org/coronavirus/kidney-disease-covid-19. Last Accessed: 27 November 2023
  5. SARS-CoV-2 infects coronary arteries, increase plaque inflammation. (2023, September 28). National Heart, Lung, and Blood Institute. Available at: https://www.nhlbi.nih.gov/news/2023/sars-cov-2-infects-coronary-arteries-increases-plaque-inflammation. Last Accessed: 27 November 2023
  6. Fairweather, D., Beetler, D. J., Di Florio, D. N., Musigk, N., Heidecker, B., & Cooper Kr, L. T. (2023) COVID-19, Myocarditis and Pericarditis. Circulation Research, 1302 – 1319.
  7. Information on coronavirus for stroke survivors. (2023, October). Stroke Association. Available at: https://www.stroke.org.uk/finding-support/information-coronavirus-stroke-survivors. Last Accessed: 27 November 2023
  8. Can COVID-19 Increase Your Risk of a Stroke? (2023, May 19). Healthline. Available at: https://www.healthline.com/health/stroke/covid-and-stroke. Last Accessed: 27 November 2023
  9. Question About COVID-19 and Cancer (2023, April 6). American Cancer Society. Available at: https://www.cancer.org/cancer/managing-cancer/coronavirus-covid-19-and-cancer/questions-about-covid-19-and-cancer.html#:~:text=Some%20people%20with%20cancer%20are,to%20have%20normal%20immune%20function. Last Accessed: 27 November 2023
  10. Frequently Asked Questions: COVID-19 and Diabetes (n.d.). American Diabetes Association. Available at: https://diabetes.org/getting-sick-with-diabetes/coronavirus-covid-19/how-coronavirus-impacts-people-with-diabetes. Last Accessed: 27 November 2023
  11. COVID-19 and Obesity: What Does it Mean For You? (2021). Obesity Action Coalition. Available at: https://www.obesityaction.org/resources/covid-19-and-obesity-what-does-it-mean-for-you. Last Accessed: 27 November 2023
  12. Nagarajan R, et al. Prev Chronic Dis 2022;19:210228.
  13. Vujcic, I., (2023) Outcomes of COVID-19 among patients with liver disease. World Journal of Gastroenterology. 7; 29(5): 815-824.
  14. HIV and COVID-19 Basics. (2023, September 12). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Available at: https://www.cdc.gov/hiv/basics/covid-19.html#:~:text=People%20with%20HIV%20may%20have%20higher%20rates%20of%20certain%20underlying,are%20not%20on%20HIV%20treatment. Last Accessed: 27 November 2023
  15. People with Certain Medical Conditions. (2023, May 11). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Available at: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/need-extra-precautions/people-with-medical-conditions.html. Last Accessed: 7 December 2023

ไปรับการรักษาที่เหมาะสม1

แนวทางการรักษาโควิด 19 จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แบ่งผู้ป่วยโควิด 19 ออกเป็น 4 กลุ่มตามความเสี่ยงและความรุนแรงของโรค เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงพัฒนาไปเป็นโรครุนแรงและลดการเสียชีวิตจากโควิด 191

กลุ่มที่ 1: ไม่มีอาการ

กลุ่มที่ 1: ไม่มีอาการ กลุ่มที่ 1: ไม่มีอาการ

ผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไม่มีอาการหรือสบายดี

รักษาแบบผู้ป่วยนอก และปฎิบิติตามมาตรการ DMH หรือ Distancing (อยู่ห่างไว้) Mask wearing (ใส่มาส์กกัน) และ Hand washing (หมั่นล้างมือ) อย่างเคร่งครัด อย่างน้อย 5 วันโดยไม่ต้องได้รับยาต้านไวรัส

กลุ่มที่ 3: อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง

กลุ่มที่ 3: มีอาการเล็กน้อย + มีปัจจัยเสี่ยง

ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางที่ยังไม่ต้องให้ Oxygen

ควรได้รับยาต้านไวรัสอย่างเร็วที่สุดเรียงตามลำดับประสิทธิภาพ อาจรักษาเป็นผู้ป่วยนอกหรือรับไว้ในโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

กลุ่มที่ 2: มีอาการไม่รุนแรง

กลุ่มที่ 2: มีอาการเล็กน้อย

ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง

รักษาแบบผู้ป่วยนอก และปฎิบิติตามมาตรการ DMH หรือ Distancing (อยู่ห่างไว้) Mask wearing (ใส่มาส์กกัน) และ Hand washing (หมั่นล้างมือ) อย่างเคร่งครัด อย่างน้อย 5 วัน และดูแลรักษาตามอาการ ตามดุลยพินิจของแพทย์

กลุ่มที่ 3: อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง

ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางที่ยังไม่ต้องให้ Oxygen

ควรได้รับยาต้านไวรัสอย่างเร็วที่สุดเรียงตามลำดับประสิทธิภาพ อาจรักษาเป็นผู้ป่วยนอกหรือรับไว้ในโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

กลุ่มที่ 2: มีอาการไม่รุนแรง

กลุ่มที่ 2: มีอาการเล็กน้อย

ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ และไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง

รักษาแบบผู้ป่วยนอก และปฎิบิติตามมาตรการ DMH หรือ Distancing (อยู่ห่างไว้) Mask wearing (ใส่มาส์กกัน) และ Hand washing (หมั่นล้างมือ) อย่างเคร่งครัด อย่างน้อย 5 วัน และดูแลรักษาตามอาการ ตามดุลยพินิจของแพทย์

กลุ่มที่ 4: มีปอดอักเสบ

กลุ่มที่ 4: มีปอดอักเสบกลุ่มที่ 4: มีปอดอักเสบ

ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีปอดอักเสบร่วมด้วย (ระดับออกซิเจน < 94%)

รับไว้ในโรงพยาบาล ร่วมกับให้ยาต้านไวรัสและดูแลตามอาการ

References:

  1. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2567.
    สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ.2568. เข้าถึงได้ที่ https://idthai.org/Contents/Views/?d=!8!11!!1021

ไปพบแพทย์

หากคุณรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเป็นโควิด 19 รุนแรง คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่คุณมีอาการ
คล้ายโควิด 19 หรือมีผลทดสอบโควิด 19 เป็นบวก เพราะผลการรักษาจะที่ดีที่สุด ถ้าคุณได้รับยารักษา
โควิด 19 ภายใน 5 ถึง 7 วันตั้งแต่เริ่มมีอาการ1

จุดรับบริการ
เสริมภูมิและรักษา

เพื่อภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพร้อมสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อการรักษาที่รวดเร็วทันท่วงที หากคุณต้องการทราบว่าจุดบริการสำหรับการเสริมภูมิคุ้มและการรักษามีอยู่ที่ไหนบ้าง

ค้นหาโรงพยาบาลใกล้ตัว

ดูแลตัวเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัยในระหว่างที่คุณป่วยอยู่

หลังจากไปพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและการรักษา
ที่เหมาะสมแล้ว ข้อควรปฏิบัติเมื่อรักษาตัวที่บ้าน มีดังนี้

1. รักษาระยะห่าง และสวมหน้ากากอนามัย

ในระยะ 5 วันแรกที่มีอาการ ให้สวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง ทำความสะอาดมือ และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด จนกว่าจะพ้นระยะแพร่เชื้อ

2. แยกห้องนอนจากผู้อื่น

ให้แยกห้องนอนจากผู้อื่น ถ้าไม่มีห้องให้นอนห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2-3 เมตร และเปิดให้อากาศระบายได้ ผู้ติดเชื้อนอนอยู่ด้านใต้ลม จนพ้นระยะการแยกกักตัว

3. แยกห้องน้ำหรือทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ

ถ้าแยกห้องน้ำได้ควรแยก ถ้าแยกไม่ได้ ให้เช็ดพื้นผิวที่มีการสัมผัสด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่นแอลกอฮอล์หลังการใช้ทุกครั้ง

4. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ

หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุรวมถึง ผู้ที่มีโรคประจำตัวซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโควิด 19 รุนแรง

5. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ

ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70%

6. ไม่รับประทานอาหารร่วมวงกับผู้อื่น

ไม่รับประทานอาหารร่วมวงกับผู้อื่น

เมื่อพ้นระยะ 5 วันแรกแล้ว แนะนำให้ปฏิบัติตามข้อ 2 - 6 ต่อไปอีก 5 วันรวม 10 วัน หลังจากนั้นสามารถประกอบกิจกรรมทางสังคม และทำงานได้ตามปกติตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่ หรืออาการเดิมมากขึ้นให้ติดต่อสถานพยาบาล หากต้องเดินทางมาสถานพยาบาล แนะนำให้สวมหน้ากากระหว่างเดินทางตลอดเวลา

References:

  1. สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2567.
    สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ.2568. เข้าถึงได้ที่ https://idthai.org/Contents/Views/?d=!8!11!!1021
PP-C1D-THA-0014, PP-C1D-THA-0043, PP-C1D-THA-0261