รู้จักเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 
เพื่อหาวิธีดูแลและป้องกัน

โควิด-19

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19)

เกิดจากไวรัสโคโรนากลุ่มอาการทางเดินทางหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV-2) ไวรัสโคโรนา 2019 ได้มีการกลายพันธุ์เป็นหลากหลายสายพันธุ์และมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก จากสายพันธุ์ทั้งหมดนี้ มีอยู่ 5 สายพันธุ์ที่ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern หรือ VOC) ได้แก่ สายพันธุ์แอลฟา สายพันธุ์เบต้า สายพันธุ์แกมมา สายพันธุ์เดลต้า สายพันธุ์โอมิครอน1

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19)

References:

  1. CDC, SARS-CoV-2 Variant Classifications and Definitions, accessed 11 October 2023, https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant-classifications.html#anchor_1679059484954

การแพร่เชื้อ

วิธีการแพร่เชื้อ

ไวรัสจะแพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม และมีบุคคลหายใจเอาฝอยละอองที่มีเชื้อจากผู้ป่วยเข้าไป หรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นอยู่ แล้วมาแตะตามใบหน้าและดวงตา1

ช่วงเวลากระจายเชื้อ

ระยะฟักตัวโดยเฉลี่ยของไวรัส สายพันธุ์โอมิครอนนับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะฟักตัว) อยู่ที่ 3 วัน โดยจะเริ่มแสดงอาการที่ประมาณ 2-14 วัน หลังจากรับเชื้อ ช่วงที่กระจายเชื้อได้มากที่สุดคือ 1-2 วันก่อนที่จะมีอาการและช่วง 2 -3 วันหลังเริ่มมีอาการ2

ความรุนแรงของอาการ

ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้ และความรุนแรงของอาการก็อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ติดเชื้อแต่ละบุคคล ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้3

การแพร่เชื้อ

References:

  1. CDC, How COVID-19 Spreads, accessed 11 October 2023, https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/how-covid-spreads.html
  2. ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , โควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ระยะฝึกตัวเปลี่ยนไปจริงหรือ?, accessed 11 October 2023, https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/โควิด-19-สายพันธุ์-โอมิครอ/
  3. CDC, Symptoms of COVID-19, accessed 11 October 2023, https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html

การเปลี่ยนแปลงของไวรัส
SARS-CoV-2

การเปลี่ยนแปลงของไวรัส  SARS-CoV-2

ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา รวมถึงไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19

ไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะถูกจัดกลุ่มและแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ต่างๆ เช่น Delta Omicron โดยธรรมชาติสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดิม2

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลต่อความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัส การตอบสนองต่อการรักษาของยาที่มีอยู่ในปัจจุบัน และความรุนแรงของโรคเมื่อมีเชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่เข้าสู่ร่างกาย2

แม้ในบางครั้งข้อมูลเกี่ยวกับสายพันธุ์ใหม่ที่มีการระบาดจะยังไม่เพียงพอที่จะอธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจาย หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของเชื้อไวรัส แต่คุณยังคงสามารถป้องกันตัวคุณเองและผู้อื่นจากการติดเชื้อได้2

วิธีการป้องกันตนเอง1

  1. รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตามคำแนะนำของแพทย์
  2. อยู่บ้านถ้าคุณรู้สึกไม่สบาย หรือมีอาการป่วย
  3. รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เมื่อมีความเสี่ยง
  4. ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา หากคุณติดเชื้อโควิด-19 และมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยหนัก
  5. เลือกสวมหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพสูง และสวมพอดีกับจมูกและปากของคุณ
  6. หลีกเลี่ยงที่แออัด และอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี
  7. หมั่นล้างมือของคุณ

References:

  1. Risk Assessment Summary for SARS CoV-2 Sublineage BA.2.86 Available at: https://www.cdc.gov/respiratory-viruses/whats-new/covid-19-variant.html Last Accessed: 14 September 2023
  2. SARS-CoV-2 Variant Classifications and Definitions Available at: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/variants/variant-classifications.html Last Accessed: 14 September 2023

อาการของโรคโควิด-19

ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ มักพบอาการดังต่อไปนี้1

อาการที่พบได้ทั่วไป

  • เป็นไข้หรืออุณหภูมิร่างกายสูง
  • เจ็บคอ
  • หนาวสั่น

อาการที่พบได้บ้าง

  • ปวดศีรษะ-วิงเวียนศีรษะ
  • ไอ-จาม
  • แน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอก
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
  • อ่อนเพลีย-ไม่มีแรง
  • น้ำมูกไหล
  • คัดจมูก
  • ปวดกระบอกตา
  • หายใจถี่
  • สูญเสียหรือเปลี่ยนการรับรู้รสหรือกลิ่น
  • คลื่นไส้/อาเจียน
  • ปวดท้อง หรือ ท้องเสีย
  • นอนหลับยาก
  • เสียงแหบ

อาการรุนแรง 

(ที่ควรพบแพทย์)

  • หายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลาพักหรือพูดเป็นประโยคไม่ได้
  • งุนงงสับสน
  • เป็นลมหรือล้มหมดสติ
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอกอย่างต่อเนื่อง
  • ผิวหนังเย็นและชื้นหรือซีดและหมองคล้ำ
  • ไม่สามารถพูดหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้

ผู้ป่วยที่มีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้
ให้พิจารณาเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล2

 มีไข้ อุณหภูมิกายตั้งแต่ 39oC ขึ้นไป โดยวัดได้อย่างน้อยสองครั้งห่างกัน 4 ชั่วโมง มีไข้ อุณหภูมิกายตั้งแต่ 39oC ขึ้นไป โดยวัดได้อย่างน้อยสองครั้งห่างกัน 4 ชั่วโมง
1. มีไข้ อุณหภูมิกายตั้งแต่ 39°C ขึ้นไป โดยวัดได้อย่างน้อยสองครั้งห่างกัน 4 ชั่วโมง
มีค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94% มีค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94%
2. มีค่าออกซิเจนในเลือดที่วัดจากปลายนิ้ว (SpO2) ที่อุณหภูมิห้อง ต่ำกว่า 94%
มีค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94%
3. มีภาวะแทรกซ้อน หรือการกำเริบของโรคประจำตัวเดิม
มีค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94%
4. เป็นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง และไม่มีผู้อยู่ดูแลตลอดทั้งวัน
มีค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94%
5. มีภาวะอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ตามดุลยพินิจของแพทย์
มีค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94%
6. ผู้ป่วยเด็กให้รักษาในโรงพยาบาลเมื่อมีข้อบ่งชี้ เช่น ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หรือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือต้องการออกซิเจน ฯลฯ

References:

  1. WHO, Coronavirus disease (COVID-19), accessed 11 October 2023, https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/coronavirus-disease-(covid-19)
  2. DMS, Thailand COVID-19 Clinical Practice Guidelines, accessed 11 October 2023, https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=181
 

การวินิจฉัยโควิด-19

การตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มี 2 วิธีหลัก ดังนี้

1. Rapid test หรือ Antigen test kit (ATK)1

การตรวจคัดกรองเพื่อหาเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยใช้ชุดทดสอบคือ Antigen test kit (ATK) เป็นชุดทดสอบสำหรับตรวจหาแอนติเจน (Antigen) ของเชื้อไวรัสในสารคัดหลั่งทางโพรงจมูกหรือน้ำลาย เป็นวิธีการตรวจที่ทราบผลได้รวดเร็ว ราคาชุดตรวจไม่แพงเกินไป สามารถหาซื้อได้ง่าย วิธีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก แต่มีความแม่นยำ (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) น้อยกว่าวิธี RT-PCR วิธีนี้จึงมักใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการป่วยและสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19 หากตรวจในตอนที่เพิ่งได้รับเชื้ออาจจะแสดงผลเป็นลบเนื่องจากยังไม่มีปริมาณเชื้อมากพอที่จะตรวจได้ หากเคยติดเชื้อหรือได้รับวัคซีนจนมีภูมิคุ้มกันที่สามารถทำลายเชื้อได้ก็อาจให้ผลการทดสอบเป็นลบเช่นกัน

2. RT-PCR (Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction)1

วิธี RT-PCR เป็นวิธีการตรวจยืนยันเพื่อหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีความแม่นยำ (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) สูง ใช้สิ่งส่งตรวจจากสารคัดหลั่ง และมีขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนจึงต้องทำการทดสอบโดยบุคลากรทางการแพทย์

การวินิจฉัยโควิด-19

References:

  1. CDC, Overview of Testing for SARS-CoV-2, the virus that causes COVID-19, accessed 11 October 2023, https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/hcp/testing-overview.html#TestingInfection
PP-C1D-THA-0013, PP-C1D-THA-0042