Sorry, you need to enable JavaScript to visit this website.

ทำไมต้องกระตุ้นภูมิคุ้มกัน Booster Dose จำเป็นจริงไหม?

Share

ทำไมต้องกระตุ้นภูมิคุ้มกัน Booster Dose จำเป็นจริงไหม?

ณ สถานการณ์ปัจจุบันในปี 2023 เชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือที่เรารู้จักในนาม “เชื้อโควิด-19” อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ที่คนตื่นตัวกันแล้ว รวมถึงการมีมาตรการผ่อนปรน สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ลดกฎการสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ ทำให้คนมีความสนใจการป้องกันร่างกายจากเชื้อไวรัสน้อยลง

แต่ความจริงนั้นข้อมูลจาก World Health Organization (WHO) ได้รายงานว่า “เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยสายพันธุ์ใหม่ที่พบคือ EG.5 สืบเชื้อสายมาจาก XBB.1.9.2 โดยสายพันธุ์ EG.5 มีการกลายพันธุ์แบบหนามแหลมเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความได้เปรียบในการเติบโตและคุณลักษณะการหลบหนีของภูมิคุ้มกัน EG.5 อาจทำให้อุบัติการณ์ของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นและกลายเป็นโรคที่โดดเด่นในบางประเทศหรือแม้แต่ทั่วโลก1” ดังนั้น การป้องกันตัวเองยังคงมีความจำเป็นอยู่มาก โดยเฉพาะการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน ทั้งนี้ประชาชนที่เคยได้รับวัคซีนไปอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องฉีดเพิ่ม เนื่องจากเข้าใจว่าที่เคยได้รับไปก็เพียงพอ หรืออาจเคยติดเชื้อมาแล้วคิดว่ายังคงมีภูมิคุ้มกันได้อยู่

แต่ในความจริงแล้วต้องให้ประชาชนได้ทราบว่าภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ประสิทธิภาพจะค่อย ๆ ลดลงไป2 ในขณะที่เชื้อไวรัสนั้นกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาตามเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจุบันคือ วัคซีนรุ่นใหม่ชนิด Bivalent วัคซีนต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ ‘คิดค้นมาเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยร้ายแรง การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และการเสียชีวิตจากโรคโควิด-192’ โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่กลุ่มเสี่ยง (กลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง,กลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสและการแพร่เชื้อ และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข) เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้3 รวมถึงบุคคลทั่วไป การไม่เคยได้รับวัคซีนจะมีโอกาสสูงกว่าที่จะเป็น Long COVID อีกด้วย4 ดังนั้นจึง ‘จำเป็นต้องหมั่นกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม ด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยอยู่เสมอ3

ในประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้มีแนวทางการให้วัคซีนโควิด-19 ไว้ดังนี้3 แนะนําให้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ประจําปี ปีละ 1 เข็ม โดยเว้นระยะห่างจากเข็มสุดท้ายหรือประวัติการติดเชื้อครั้งสุดท้าย ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยไม่คํานึงว่าเป็นเข็มที่เท่าใด สามารถฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้

กลุ่มเป้าหมายที่แนะนำคือ

  1. กลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง : บุคคลที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป บุคคลที่มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
  2. กลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสและการแพร่เชื้อ ได้แก่ พนักงานบริการหรือผู้ที่มีอาชีพต้องสัมผัสคนเป็นจํานวนมาก หรือผู้อยู่ในสถานที่แออัด
  3. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข
ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไป ที่ต้องการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ สามารถเข้ารับวัคซีนประจําปีได้ และยังเป็นการสร้างภูมิคุ้นกันหมู่ได้อีกด้วย
*โปรดปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหรือการใช้ยา

แหล่งที่มา

  1. World Health Organization. EG.5 Initial Risk Evaluation [อินเทอร์เน็ต]. 9 สิงหาคม 2566. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/09082023eg.5_ire_final.pdf
  2. Evelyn Twentyman. MD, MPH COCA Call May 11, 2023. Updates to Interim Clinical Considerations for Use of COVID-19 Vaccines [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1fMfv1zcXH96H0pTfpDGTQQ4cJMJL-IXN/view?usp=sharing
  3. กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ประจำปี [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข. เมษายน 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/18RnQD1ouOWhEZsvdIvFxexzu2bKc9w3N/view?usp=sharing
  4. Washington State Department of Health (DOH). Long COVID [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 13 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://doh.wa.gov/th/emergencies-covid-19/phawa-long-covid

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูบทความทั้งหมด

เสริมภูมิคุ้มกัน

กี่เข็มไม่สำคัญเท่านานเกิน 1 ปีจากเข็มสุดท้าย เพราะประสิทธิภาพของวัคซีนค่อย ๆ ลดลง จึงควรฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอยู่เสมอ

เสริมภูมิคุ้มกัน

ไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหลังป่วยโควิด-19 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงจากการติดเชื้อซ้ำ

เสริมภูมิคุ้มกัน

ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ตนเอง ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ควรรับวัคซีนโควิด-19 อย่างยิ่ง ดูวิธีเตรียมตัวก่อนฉีดได้ที่นี่

PP-CVV-THA-0279