Sorry, you need to enable JavaScript to visit this website.

โรคหัวใจและหลอดเลือดกับโควิด 19 เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

Share

โรคหัวใจและหลอดเลือดกับโควิด 19 เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

Brochure Cardiovascular disease and Covid-19

ปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อโควิด 19 ส่งผลทําให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อหัวใจและอวัยวะอื่นๆ โดยผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ บางรายมีอาการต่อเนื่องเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนหลังจากติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งอาการที่พบได้แก่ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ใจสั่น ในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอาจมีอาการขาบวม หายใจไม่สะดวกเมื่อนอนราบ ในรายที่รุนแรงอาจถึงขั้นช็อกหมดสติ และเสียชีวิตได้1

จากข้อมูลการศึกษาของ Nature Medicine2 พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 เกิดภาวะผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น โดยในผู้ป่วยโควิด 19 จํานวน 1,000 คน จะพบ
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดํา บริเวณขา 4 คน
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 7 คน
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 19 คน
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว 11 คน
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด 5 คน
  • ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ 1 คน

กลุ่มเสี่ยงที่มักพบภาวะผิดปกติของหัวใจ ได้แก่ ผู้ป่วยสูงอายุ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 65 ปี และผู้ป่วย ที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง และโรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น3

โควิด 19 ส่งผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างไร4
เชื้อโควิด 19 จะทํา ให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหาย เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ นําไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา หรืออาจส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจทําให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รวมไปถึงมีผลต่อหลอดเลือดที่อวัยวะส่วนอื่น ซึ่งทําให้เกิดภาวะต่างๆตามมา เช่น ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด เป็นต้น

วัคซีนป้องกันโควิด 19
วัคซีนป้องกันโควิด 19 ถือเป็นเครื่องมือสําคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยควบคุมการระบาดของโรค ลดความรุนแรงของอาการ และลดการเสียชีวิตในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด 19 มาก่อน การได้รับวัคซีนจะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงจากการติดเชื้อซ้ําได้

สําหรับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน พบว่ามีทั้งผลข้างเคียงเล็กน้อยไปจนถึงผลข้างเคียงชนิดรุนแรง ซึ่งมีโอกาสเกิดน้อย เช่น การเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่บริเวณหลอดเลือดส่วนต่างๆ รวมไปถึงการเกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ ซึ่งพบอุบัติการณ์สูงสุดในเพศชายอายุ 12-17 ปี โดยเฉพาะหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 และ จากการติดเชื้อโควิด 19 แล้ว พบว่าภายหลังการติดเชื้อโควิด 19 ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบสูงกว่าการฉีดวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอเข็มที่ 2 ถึง 1.8-5.6 เท่า นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าหลังการติดเชื้อโควิด 19 ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของหัวใจด้านต่างๆ มากกว่าคนที่ได้รับวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอทั้งเข็มแรกและเข็มที่ 25

Q: ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 มีมากกว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านหัวใจหรือไม่ ?
A: ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 แต่จากข้อมูลการศึกษาต่างๆ ในปัจจุบันยังคงแนะนํา ให้ประชาชนที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโควิด 19 เช่น ปัญหาสุขภาพในระยะยาว การต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงการเสียชีวิต ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อโควิด 19 แล้ว พบว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 นั้นมีผลดีอย่างชัดเจน และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบน้อยกว่า

นพ.วิโรจน์ เมืองศิลปศาสตร์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

แหล่งที่มา

  1. Guo T, Fan Y, Chen M, Wu X, Zhang L, He T, et al. Cardiovascular Implications of Fatal Outcomes of Patients With Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). JAMA Cardiol. 2020;5(7):811-8.
  2. Xie Y, Xu E, Bowe B, Al-Aly Z. Long-term cardiovascular outcomes of COVID-19. Nat Med. 2022;28(3):583-90.
  3. Xu H, Hou K, Xu R, Li Z, Fu H, Wen L, et al. Clinical characteristics and risk factors of cardiac involvement in covid-19. J Am Heart Assoc. 2020;9(18).
  4. Chung MK, Zidar DA, Bristow MR, Cameron SJ, Chan T, Harding CV, 3rd, et al. COVID-19 and Cardiovascular Disease: From Bench to Bedside. Circ Res. 2021;128(8):1214-36.
  5. Block JP, Boehmer TK, Forrest CB, Carton TW, Lee GM, Ajani UA, et al. MMWR, Cardiac Complications After SARS-CoV-2 Infection and mRNA COVID-19 Vaccination — PCORnet, United States, January 2021–January 2022 [Internet]. Available from: https://pcornet.org/data

ควรศึกษาข้อควรระวัง อาการไม่พึงประสงค์ ข้อกําหนดในการรับวัคซีน เพื่อการได้รับวัคซีนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูบทความทั้งหมด

เสริมภูมิคุ้มกัน

เพราะเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงอยู่ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) จึงยังคงเป็นเรื่องสำคัญ

เสริมภูมิคุ้มกัน

กี่เข็มไม่สำคัญเท่านานเกิน 1 ปีจากเข็มสุดท้าย เพราะประสิทธิภาพของวัคซีนค่อย ๆ ลดลง จึงควรฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอยู่เสมอ

เสริมภูมิคุ้มกัน

ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ตนเอง ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ควรรับวัคซีนโควิด-19 อย่างยิ่ง ดูวิธีเตรียมตัวก่อนฉีดได้ที่นี่

PP-CVV-THA-0083