ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น จําเป็นหรือไม่ เมื่อมีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน
ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น จําเป็นหรือไม่ เมื่อมีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน
การแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือโรคโควิด 19 ทําให้ประชากรเสียชีวิตมากกว่า 6 ล้านคน จนเกิดวิกฤตของระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจทั่วโลก การฉีดวัคซีนเพื่อให้ประชากรมี ภูมิคุ้มกันและการมียารักษาจําเพาะแก่ผู้ที่มีการติดเชื้อ ถือเป็นเครื่องมือในการควบคุมการระบาด และลดการป่วยตาย ดังที่เคยประสบความสําเร็จในการยุติการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในอดีต อย่างไรก็ตามไวรัสก่อโรคโควิด 19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้มากกว่า และมีการกลายสายพันธุ์ หลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา จนล่าสุดคือ ‘โอมิครอน’ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 3 เท่า นอกจากนี้สายพันธุ์โอมิครอนยังดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังการติดเชื้อตามธรรมชาติ หรือจากการฉีดวัคซีนสายพันธุ์ต้นแบบครบ 2 โดส (primary vaccination) จึงทําให้มีการติดเชื้อซ้ำในผู้ที่่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน หรือการติดเชื้อในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนครบ 2 โดสมาก่อนเป็นเวลานาน
การฉีดวัคซีนเพื่อทํา ให้เกิดภูมิคุ้มกันในประชากรเป็นมาตรการที่สําคัญ เพราะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และมีความปลอดภัยสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อตามธรรมชาติ
แม้ประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนโควิด 19 ครบ 2 โดส ในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจะ ลดลงต่ํา กว่าร้อยละ 50 ภายหลังฉีดวัคซีนเกิน 4-6 เดือน แต่ก็ยังพบว่า การติดเชื้อในผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสมีอัตราป่วยรุนแรงและการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่ํากว่าผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้รับวัคซีน1 ดังนั้นการเร่งฉีดวัคซีนโควิด 19 ครบ 2 โดส แก่ประชากรให้มากและเร็วที่สุดยังเป็นสิ่งสําคัญ รวมทั้งจําเป็นต้องเร่งการให้วัคซีนเข็มกระตุ้น (booster vaccination) แก่ประชากรที่เคยรับวัคซีนครบ 2 โดส โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อรุนแรง
การฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่สาม (เข็มกระตุ้นครั้งแรกในผู้ที่เคยรับวัคซีนครบ 2 โดส) จุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับสายพันธุ์ที่มีการระบาด โดยเข็มกระตุ้นอาจใช้เป็นวัคซีนต้นแบบที่ใช้ในปัจจุบัน หรือในอนาคตจะมีวัคซีนชนิดใหม่ที่จําเพาะกับสายพันธุ์ เช่น วัคซีนโควิด 19 สําหรับ โอมิครอน เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนชนิดใหม่ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโดยตรงต่อสายพันธุ์โอมิครอน ดังนั้นหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงเร่งการฉีดวัคซีนเข็มที่สามให้แก่ประชากรที่มีอายุมากกว่า 12 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ บุคลากรทางการแพทย์ และประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง
สําหรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่สาม เพื่อป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน
- แนะนํา ให้ใช้วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) แก่ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ครบ 2 โดสมาก่อนเพราะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในการยับยั้งการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนได้ดี ป้องกันการติดเชื้อได้มากกว่าร้อยละ 60 ภายหลังการฉีดเข็มกระตุ้นและป้องกันการติดเชื้อรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้มากกว่าร้อยละ 902,3
- ไม่ควรใช้วัคซีนเชื้อตายฉีดเป็นเข็มกระตุ้นเพราะภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นน้อยและไม่เพียงพอที่จะยับยั้งการติดเชื้อได้4
โดยสรุป การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ถือเป็นกลไกสําคัญในการยับยั้งการระบาด อย่างไรก็ตามการลดลงของภูมิคุ้มกันภายหลังการฉีดวัคซีน และการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่มีการดื้อต่อภูมิคุ้ม กันจึงจําเป็นต้องมีการฉีดเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะการใช้วัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ ซึ่งมีความสําคัญต่อการลดการติดเชื้อในประชากร ลดการเจ็บป่วยรุนแรง และลดการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน
Q:การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอเป็นเข็มกระตุ้นมีผลเสียใดหรือไม่?
A:รายงานในต่างประเทศพบว่า การใช้การฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอในประชากรจํานวนมาก ไม่ได้พบว่ามีผลข้างเคียงทั่วไปมากขึ้นและการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ภายหลังการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่แตกต่างจากการฉีดวัคซีนสองเข็มแรก5
แหล่งที่มา
- UK Health Security Agency. SARS-CoV-2 variants of concern and variants under investigation in England: Technical briefing 33: 23 Dec 2021.
- Barda N, Dagan N, Cohen C, Hernán MA, Lipsitch M, Kohane IS, et al. Effectiveness of a third dose of the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine for preventing severe outcomes in Israel: an observational study. Lancet 2021;398:2093-100.
- Garcia- Beltran WF, St. Denis KJ, Hoelzemer A, et al. mRNA-based COVID-19 vaccine boosters induce neutralizing immunity against SARS-CoV-2 Omicron variant. Cell 2022;185:1-10.
- Clemens SAC, Weckx L, Clemens R, et al. Heterologous versus homologous COVID-19 booster vaccination in previous recipients of two doses of CoronaVac COVID-19 vaccine in Brazil (RHH-001): a phase 4, non-inferiority, single blind, randomised study. Lancet 2022;399(10324):521-9.
- Hause AM, Baggs J, Marquez P, et al. Safety monitoring of COVID-19 vaccine booster doses among adults —United States, September 22, 2021–February 6, 2022. MMWR 2022;71(7):247-54.
ควรศึกษาข้อควรระวัง อาการไม่พึงประสงค์ ข้อกําหนดในการรับวัคซีน เพื่อการได้รับวัคซีนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
บทความที่เกี่ยวข้อง
เพราะเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงอยู่ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) จึงยังคงเป็นเรื่องสำคัญ
ไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหลังป่วยโควิด-19 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงจากการติดเชื้อซ้ำ
ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ตนเอง ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ควรรับวัคซีนโควิด-19 อย่างยิ่ง ดูวิธีเตรียมตัวก่อนฉีดได้ที่นี่